× นักลงทุนสัมพันธ์ รายละเอียดโครงการ ขอรับแผ่นตรวจ วิธีการใช้แผ่นตรวจ วิธีรับแผ่นตรวจ บทความ สาขาที่ร่วมรายการ ภาษา THAI
รวม 6 วิธีดูแลสุขภาพเต้านม ที่ควรทำควบคู่ไปกับการตรวจเต้านม

6 วิธีดูแลสุขภาพเต้านม ที่ควรทำควบคู่กับการตรวจเต้านม

    เรามักจะพูดกันเรื่องความสำคัญของการตรวจเต้านม และการจับสังเกตสัญญาณการป่วยมะเร็งเต้านม แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือการดูแลรักษาสุขภาพ เพื่อทำให้ตัวเองห่างไกลจากมะเร็งเต้านมมากที่สุด และในบทความนี้ SABINA ขอแนะนำ 6 วิธีดูแลสุขภาพเต้านม ที่สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

ทำความเข้าใจ ใครบ้างเป็นกลุ่มเสี่ยงของมะเร็งเต้านม

    อันที่จริงแล้วผู้หญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (อายุ 20 ปีขึ้นไป) ทุกคนควรเรียนรู้วิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเอง แต่หากพูดถึงคนที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง สามารถจำแนกได้เป็น 5 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

      มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ซึ่งควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลทุก ๆ ปี

      เคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม แต่รักษาหายแล้ว เพราะมีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งที่เต้านมอีกข้างมากขึ้น 3-4 เท่า

      มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งเต้านม

      ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดพลาด ไม่ดูแลรักษาร่างกาย ไม่ควบคุมน้ำหนัก และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

      มีความผิดปกติของยีน หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน

ที่มา: คู่มือการตรวจเต้านม สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ควรดูแลสุขภาพควบคู่กับการตรวจเต้านมอย่างไร ให้ห่างไกลมะเร็งเต้านม

     เมื่อพิจารณาลักษณะของกลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านมข้างต้น จะเห็นได้ว่า นอกจากปัจจัยเรื่องกรรมพันธุ์แล้ว การละเลยที่จะดูแลร่างกายอาจทำให้คุณป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้ ดังนั้น เราจึงแนะนำให้คุณหมั่นดูแลสุขภาพตาม 6 วิธีนี้ ควบคู่กับการตรวจเต้านม

1. ออกกำลังกายเป็นประจำ และเสริมความแข็งแรงด้วยท่าบริหารหน้าอก ยกกระชับ

ท่าบริหารกล้ามเนื้อทรวงอก

    การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น และกระตุ้นการหมุนเวียนของฮอร์โมนในร่างกาย เพียงออกกำลังกายง่าย ๆ เน้นการเคลื่อนไหว เช่น เต้นแอโรบิค วิ่งจ๊อกกิ้ง เดินเร็ว ฯลฯ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก็สามารถลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมและอาการป่วยอื่น ๆ ได้

    นอกจากนี้ คุณยังสามารถบริหารกล้ามเนื้อบริเวณทรวงอกได้ด้วยท่าออกกำลังกายง่าย ๆ เริ่มจากยืนตรง กางขาความกว้างเท่าหัวไหล่ ยื่นแขนทั้ง 2 ข้างออกไปที่กำแพง จากนั้นงอแขนแล้วเอนกายลงไป ค้างไว้ 3 วินาที จากนั้นยืดแขนแล้วเริ่มทำเช่นเดิมอีกประมาณ 10-15 ครั้ง

2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ควบคุมน้ำหนักต้านมะเร็งเต้านม
Link Images:

    จากการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดเต้านมในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 45 ปี พบว่าการมีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ โดยส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายปกติถึง 2.9 เท่า สอดคล้องกับรายงานทางการแพทย์หลาย ๆ ฉบับที่ยืนยันว่า “ภาวะน้ำหนักเกินคือหนึ่งในสาเหตุของมะเร็งเต้านม” ดังนั้น คุณจึงควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการรับประทานของทอด ของหวาน ของมัน เกินจำเป็น และหมั่นตรวจเช็กค่า BMI ของตัวเองอยู่เสมอ

3. ดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี มีลิมิต

    บางครั้งสถานการณ์ทางสังคมอาจบีบบังคับให้คุณต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่หากไม่อยากทุกข์ใจกับปัญหามะเร็งเต้านมในวันข้างหน้า พึงดื่มอย่างมีลิมิต มีสติ เนื่องจากส่วนผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งเต้านมนั่นเอง

4. รับประทานอาหารต้านมะเร็ง เน้นกากใยสูง แคลอรี่ต่ำ

พืชตระกูลถั่วต้านมะเร็งเต้านม

    นอกเหนือจากการควบคุมน้ำหนัก หมั่นออกกำลังกาย และตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ สิ่งที่จำช่วยต่อต้านการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ไม่แพ้กัน ก็คือ “การรับประทานอาหารต้านมะเร็ง” ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง วอลนัต พิตาชิโอ และผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น คะน้า ตำลึง ใบบัวบก และผักเคล

5. หลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดในระยะยาว

     ในรายงานการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดเต้านมในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 45 ปี นอกจากจะพบว่า ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมแล้ว ยังพบว่าการใช้ยาคุมกำเนิดก็ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมเช่นเดียวกัน โดยผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดนาน 10-14 ปี จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ถึง 2.4 เท่า เนื่องจากยาคุมกำเนิดมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งทำให้เซลล์มะเร็งเต้านมแบ่งตัวได้เร็วขึ้น

6. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

     ข้อมูลจากโรงพยาบาลสมิติเวชยืนยันว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 75% นอกจากนี้ เรายังพบข้อมูลว่า ควันอันตรายจากบุหรี่จะทำให้สารอาหารที่จำเป็นต่อเนื้อเยื่อถูกดูดซึมได้น้อยลง มีผลทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยเร็วยิ่งขึ้น

ที่มา:

       ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดเต้านมในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 45 ปี

       โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

       คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

       โรงพยาบาลสมิติเวช

ดูแลสุขภาพเต้านมแล้ว จะตรวจเต้านมอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์แม่นยำ

     แน่นอนว่าสิ่งที่คุณควรทำควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพเต้านม ก็คือการคลำตรวจเต้านมด้วยตัวเอง และเพื่อให้คุณตรวจเต้านมได้แม่นยำมากขึ้น SABINA จึงคิดค้น BREAST CANCER SIMULOTOR PAD หรือแผ่นจำลองเรียนรู้การตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลศูนย์ถันย์รักษ์ โรงพยาบาลศิริราช ใช้งานง่าย เพียงวางทาบแผ่นจำลองไว้บนเต้านม แล้วสัมผัสเต้านมผ่านแผ่นจำลอง คุณก็จะทราบว่า บริเวณใดบนเต้านมที่มักพบก้อนเนื้ออันตรายบ่อยที่สุด

แผ่นจำลองเรียนรู้การตรวจเต้านม - Sabina

     ลงทะเบียนรับ BREAST CANCER SIMULOTOR PAD ได้ฟรี! เพียงซื้อสินค้า SABINA ครบ 1,500 บาท ในช่องทางที่ร่วมรายการ

     รับสิทธิ์ลงทะเบียนได้ที่ Sabina Shop ทุกสาขาและ Sabina Online

    • Web : https://www.sabina.co.th

    • Facebook : SabinaThailand

    • LINE@ : @SabinaThailand

    วันที่ 4 ก.พ. 2566 - 31 ต.ค. 2566 นี้เท่านั้น

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: BREAST CANCER SIMULOTOR PAD